พื้นฐานที่ควรรู้ ก่อนเริ่มต้นสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise)

แฟรนไชส์ Jan 29, 2021

การเริ่มต้นอยากทำธรุกิจให้เป็นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าต้องมีความละเอียด มีความอดทน และต้องเข้าใจในธุรกิจของตนเองเป็นอย่างดีที่สุด ก่อนที่จะนำธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์

“แฟรนไชส์” มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส Franchir แปลว่า สิทธิพิเศษ  

ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) คือ กลยุทธ์ทางธุรกิจ หรือวิธีการหนึ่งในการขยายตลาดเพื่อกระจายสินค้า และเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายเพื่อต่อยอดธุรกิจของบริษัทหลัก โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระ  ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้เครื่องหมายการค้า หรือการบริการ

แฟรนไชส์ซอ : บุคคลผู้เป็นเจ้าของตรา/เครื่องหมายการค้า/บริการ หรือธุรกิจหลัก ที่ได้คิดค้นและพัฒนาจนธุรกิจหลักประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับในการประกอบการ และการจัดการธุรกิจ

แฟรนไชส์ซี : บุคคลที่ได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายและดำเนินการธุรกิจ ภายใต้รูปแบบตรา เครื่องหมายการค้า บริการ ซึ่งมีแฟรนไชส์ซอเป็นเจ้าของ โดยแฟรนไชส์ซีนั้นไม่ได้อยู่ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง แต่จะเป็นเจ้าของกิจการที่ทำหน้าที่บริหารงานสาขา ตามรูปแบบที่แฟรนไชส์ซอกำหนด

รูปแบบการทำแฟรนไชส์


ถือเป็นการให้สิทธิ์ ในการให้บริการ หรือทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือให้สิทธิ์ใการจำหน่ายสินค้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า บริการ ของแฟรนไชส์ซอ

Business Format Franchising การให้สิทธิ์ในการให้บริการ หรือทำการผลิตสินค้าที่มีสุตร หรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือจำหน่ายสินค้า ภายใต้รูปแบบเครื่องหมายการค้า บริการ ของแฟรนไชส์ซอ โดยมีการถ่ายทอดในระบบ และวิธีดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน ซึ่งจะมีคู่มือประกอบเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของทุกส่วนงานให้แฟรนไชส์ซึ่งปฏิบัติตาม

Conversion Franchising เป็นระบบแฟรนไชส์ ที่ออกแบบเพื่อใช้กับผู้ประกอบการอิสระที่มีอยู่เดิม ให้เข้าสู่ระบบ/รูปแบบ และเครื่องหมายการค้าเดียวกัน หรือร่วมกัน ซึ่งจะให้ประโยชน์ร่วมกันในด้านการโฆษณาที่ทำให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการรับทำบัญชี

ประเภทการให้สิทธิ์แฟรนไชส์ แบ่งได้ 3 รูปแบบ

  • แฟรนไชส์แบบบุคคล (Individual Franchise or Sub-Franchise)
    เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แฟรนไชส์แก่บุคคลหนึ่ง หรือนิติบุคคลองค์กรหนึ่ง ให้ดำเนินภายใต้เครื่องหมายการค้า บริการ จากแฟรนไชส์ซอ เพียงแค่เฉำาะตัวเฉพาพื้นที่ โดยตามข้อตกลง จะไม่สามารถถ่ายทอดสิทธิ์ที่ได้รับมาให้บุคคลอื่นได้ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
  1. Single unit Franchise : แฟรนไชส์ซีซึ่งได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัวได้เพียงหนึ่งแห่ง
  2. Muli unit Francgish : แฟรนไชส์ซีซึ่งได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัวได้หลายแห่งภายในพื้นที่กำหนด
  • แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่ (Sub-Area License or Development Franchise)
    เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคลหนึ่ง หรือนิติบุคคลในการทำการตลาดแฟรนไชส์ในอาณาเขตที่กำหนด โดยแฟรนไชส์ซีจะสามารถดำเนินธุรกิจที่ได้รับมาภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกัน โดยปกติจะไม่สามารถขายสิทธิ์ที่ได้รับมาต่อให้กับบุคคลอื่นได้
  • แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)
    เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคล หรือนิติบุคคล เป็นรายแรกในอาณาเขตภุมิภาคหรือระดับประเทซตามที่กำหนด  เพื่อให้บุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่า ดำเนินการขยายสาขาและทำการขยายการให้สิทธิ์หน่วยย่อย ทั้ง แฟรนไชส์แบบบุคคล หรือ แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่

ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระบบธุรกิจแฟรนไชส์

  • วิเคราะห์ธุรกิจให้โดนใจกลุ่มลูกค้า

ต้องบอกก่อนว่าทุกธุรกิจไม่สามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้ และการจะขายแฟรนไชส์ก็ไม่สามารถทำได้ทันที เพราะธุรกิจที่จะพร้อมเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ได้ ต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งความนิยมของกลุ่มลูกค้า เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

ดังนั้น ก่อนที่จะนำธุรกิจไปเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์นั้น ต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจตนเองก่อน ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน หากการทำธุรกิจยังมีปัญหา ก็ไม่อาจขายแฟรนไชส์ได้ เพราะจะทำให้มีปัญหาตามมาภายหลัง

  • การสร้างร้านต้นแบบ

แน่นอนอยู่แล้วว่า การที่เราอยากขายแฟรนไชส์ เราต้องมีร้านต้นแบบเพื่อนำเสนอภาพรวมธุรกิจ สินค้า การบริการ การบริหารงาน ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะยังช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานมากขึ้น การมีร้านต้นแบบนั้นจะทำให้เรารู้ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของสินค้า จนขายสินค้าให้ผู้บริโภค ปัญหาในด้านใดบ้าง รายรับรายจ่ายมีแนวโน้มไปในทางไหน และยังเห็นข้อดีข้อเสียของธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้เป็นไปตามความต้องการจริง ๆ

นอกจากนี้ การสร้างร้านต้นแบบหลายสาขานั้นก็จะทำให้เห็นถึงความแตกต่างมากขึ้น ตั้งแต่เงื่อนไขของทำเล สภาพลูกค้า สภาพของร้าน จะยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจภาพรวมทั้งหมด เพื่อถือเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการขยายตัวของธุรกิจ

  • การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมากในการจะทำแฟรนไชส์ เพราะเครื่องหมายการค้าถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของแฟรนไชส์ เหมือนที่เราเคยเห็นหรือจำสัญลักษณ์ของสินค้าใด ๆ นั่นเอง ดังนั้นถ้าธุรกิจของแฟรนไชส์ดำเนินกิจการมาได้ซักระยะ เครื่องหมายทางการค้าก็ย่อมจะเป็นที่คุ้นเคย ยิ่งแฟรนไชส์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ขยายตลาดไปในหลายพื้นที่ ก็ถือว่าแฟรนไชส์ได้การยอมรับระดับหนึ่งจากลูกค้าแล้ว

  • สร้างความน่าเชื่อถือ

การจะนำธรุกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ให้กับผู้ที่สนใจ อย่างที่บอกต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เพื่อการขยายสาขาที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะเริ่มต้นด้วยการทำธุรกิจให้เป็นที่รู้จัก เพื่อขยายฐานผู้บริโภคมากขึ้น และเมื่อเป็นที่ต้องการอย่างมากของผู้บริโภค ก็จะทำให้มีความสนใจในธุรกิจของเรา และเกิดการสร้างแฟรนไชส์ขยายต่อไปเรื่อย ๆ รวมถึงการใช้ช่องทางการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

  • การสร้างสัญญาและมูลค่าแฟรนไชส์

การตั้งมูลค่าแฟรนไชส์ ควรตั้งให้เหมาะสมกับธุรกิจ และหากเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มีการใช้วัตถุดิบที่มีราคาสูง ก็ไม่ควรตั้งมูลค่าที่สูงจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ผู้ที่สนใจยกเลิกการซื้อแฟรนไชส์ได้ แต่ก็ไม่ควรสร้างมูลค่าที่ต่ำเกินไปเช่นกัน ควรที่คำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ประมาณตัวเลขให้มีมูลค่าที่พอเหมาะ

  • การจัดหาและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ

วัตถุดิบถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะบ่งบอกถึงความใส่ใจในการดูแล ยิ่งถ้าหากว่าธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร หรือเครื่องดื่ม ความสะอาดจึงถือเป็นหัวใจหลัก เพราะความปลอดภัยของลูกค้าถือว่าต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งนี้รวมถึงการจัดหาแหล่งซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ เพื่อจะได้ควบคุมราคาได้อย่างแม่นยำ และจะทำให้ธุรกิจของเราดูน่าเชื่อถือ และจะช่วยลดปัญหาให้กับผู้ที่มาซื้อแฟรนไชส์

ดังนั้น สินค้าของธุรกิจเราจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ ตั้งแต่การควบคุมราคา คุณภาพ การดูแลรักษา การจัดหาซื้อได้จากแหล่งใด รวมถึงการรับส่งวัตถุดิบ  

  • การวางแผนด้านการตลาด

ทุกธุรกิจบนโลกใบนี้ ย่อมต้องมีการตลาดอยู่แล้ว และจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มยอดขายที่ดีขึ้นนั่นเอง รวมถึงการวางแผนการตลาดนั้นจะสนับสนุนการยอมรับตราสินค้าได้อย่างดี ทั้งด้านการสร้างตราธุรกิจ การสร้างลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค รองรับการขยายของธุรกิจที่มีสาขามากขึ้น โดยการตลาดที่ว่านี้ จะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี น่าสนใจมากพอ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเองก็อาจจะมีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไซส์ซีของคุณต่อไปได้

  • วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน

รายรับรายจ่ายสำคัญมากสำหรับการจะร่วมลงทุนทำแฟรนไชส์ ร้านต้นแบบจึงควรวางโครงสร้างทางการเงินให้เห็นอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายด้านใดบ้าง จุดที่คุ้มกับเงินลงทุนต้องมียอดขายเท่าไหร่ ใช้เวลาประมาณกี่ปี ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ และเป้าหมายต่อเดือนควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ ที่สำคัญคือมีความคุ้มค่าอย่างไรในการจะซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจนี้

  • คู่มือการดำเนินธุรกิจระบบแฟรนไชส์

ธุรกิจที่เข้าระบบแฟรนไชส์นั้น จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ ซึ่งคู่มือดังกล่าวจะเป็นรูปแบบการบริหารธุรกิจ ที่เจ้าของแฟรนไชส์ใช้ในการถ่ายทอดประสบการณ์ ให้กับแฟรนไชส์ซี

ทั้งนี้คู่มือดังกล่าว จะต้องช่วยให้แฟรนไชส์ซีสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์มีความง่าย และราบรื่น และในแฟรนไชส์แต่ละสาขาก็จะต้องยึดแนวทางการปฎิบัติการบริหาร การบริการ ให้ไปในรูปแบบเดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน

ฉะนั้นแล้ว การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบนั้น ไม่ใช่เพียงว่าคุณมีธุรกิจแล้วจะสามารถเปิดขายแฟรนไชส์ได้เลย จะควรต้องศึกษาพื้นฐาน และกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างแม่นยำ และเตรียมความพร้อมธุรกิจของคุณให้เป็นแบบอย่างที่ดีในทั้งการบริหาร การบริการ แสดงให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ  


Tags